งานนี้เป็นงาน Final Project ที่ให้นักศึกษาเสนอหัวข้องานเองตามที่ตนเองสนใจ
ซึ่งในตอนแรกผมก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี คิดไปคิดมาก็ยังคิดไม่ออก อาจารย์ติกก็เลยเสนอเรื่องเก่าให้ทำต่อไป เพราะอาจารย์ท่านบอกว่าจากการที่ได้เห็นงานจากชิ้นที่แล้วมา อาจารย์ติกก็นึกไปถึง (Gestalt Psychology) ท่านก็เลยให้ไปหาข้อมูลมา
กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์นิยม
กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วม” คำว่า “Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด (totality หรือ configuration) กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม เกิดในอเมริกา กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปัญญานิยม”(cognitivism) ผู้นำกลุ่มที่สำคัญ คือ เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880 – 1943) และโคเลอร์ (Wolfgang Kohler, 1886 – 1941)
กลุ่มเกสตัลท์นิยมเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมบูรณาการ (integrated behavior) การศึกษาพฤติกรรมต้อง ศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ เพราะส่วนรวมก็คือส่วนรวม มีคุณค่าหรือคุณสมบัติต่างไปจาก ผลบวกของส่วนย่อย ๆ รวมกัน เช่น “บ้าน” ย่อมมีคุณค่า มีความหมาย มีคุณสมบัติที่มากกว่าการเอาเสา เอากระดานพื้น กระดาน ตามประตูหน้าต่าง หลังค่า ฯลฯ มาต่อรวมเข้าด้วยกัน หรือตัวอย่างไนรูปพฤติกรรม เช่น การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในรูปใด มักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนร่วมของคน ๆ นั้น โดยประสมประสานระหว่างความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ หรือความสามารถในการกระทำ ฯลฯ ไม่ได้เกิดเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวและถึงแม้สิ่งเร้าของคนนั้น จะเป็นสิ่ง เดียวกัน แต่พฤตกรรมจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ และความสามารถ เปลี่ยนไปจากเดิม
กลุ่มเกสตัลท์เน้นศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ รวมทั้งการเรียนรู้จากปัญญาความคิด เห็นว่าการรับรู้เป็นพื้นฐานนำให้เกิด การเรียนรู้ และคนเรามีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน ส่งผลให้เรียนรู้และกระทำแตกต่างกัน การจะรับรู้ให้เข้าใจได้ดีจะต้อง รับรู้โดยส่วนรวมเสียก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งนั้นทีละส่วนในภายหลัง และการเรียนรู้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งความสามารถในการแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น (insight) การหยั่งเห็นเป็นการคิดช่องทาง แก้ปัญหา ได้ฉับพลันจากการพิจารณาสภาวะรอบด้าน ถ้าเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดก็จะแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น เมื่อแก้ปัญหาได้ก็เกิดการเรียนรูู้้แล้ว ซึ่งจะเป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นกับการใช้ความคิด ความเข้าใจ หรือสติปัญญาของผู้นั้น แนวคิดของกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “ปัญญานิยม” เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมต้องศึกษาจากกระบวนการรับรู้และการคิดในสมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม
และผมได้ค้นคว้าต่อจนไปเจอกับ (Perceptual organization) ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับงานของผม
การจัดองค์ประกอบการรับรู้ (Perceptual organization)
การจัดองค์ประกอบการรับรู้ หมายถึง การที่ผู้บริโภคจัดข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มีความหมายที่เข้าใจได้มากขึ้น และเพื่อให้สามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองได้ถูกต้อง ( Assael.1998:225)
หลักพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบการรับรู้ คือ “การรวมกลุ่ม” (integration) ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภครับรู้สิ่งเร้าในลักษณะเป็นภาพรวม (an organized whole) ไม่ได้มองสิ่งเร้าแต่ละส่วนที่แยกกัน การมองเป็นภาพรวมจะช่วยให้การประมวลข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความหมายได้ง่ายเข้า ซึ่งสอดคล้องตามหลัก จิตวิทยาของเกสตัลท์ (Gestale psychology) ที่กล่าวไว้
ว่า ‘ส่วนรวมมีความสำคัญมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน” (The whole is greater than the sum of the parts)
คำว่า “Gestalt” เป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึง องค์ประกอบที่รวมกันทั้งหมด หรือรูปแบบรวม (Total configuration or whole pattern) ทฤษฎีของเกสตัลท์ ที่เกี่ยวกับการรวมกลุ่มเพื่อการรับรู้ที่สำคัญ ได้แก่ หลักการเติมส่วนที่ขาดให้สมบูรณ์ หลักการจัดกลุ่ม และหลักองค์ประกอบรอบข้าง
2.1 หลักการเติมส่วนขาดให้สมบูรณ์ (Principle of closure) หมายถึง ผู้บริโภคมีแนวโน้มรับรู้ภาพที่ไม่สมบูรณ์ ให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ เช่น การเติมคำในช่องว่างโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์มาก่อน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงอธิบายได้ว่าทำไม่เราจึงสามารถอ่านข่าวสารต่าง ๆ ที่ไม่สมบูรณ์เข้าใจได้ทั้ง ๆ ที่ขาดตัวอักษรหลายคำ นักการตลาดสามารถนำหลักข้อนี้ไปประยุกต์ให้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจข่าวสารมากยิ่งขึ้น
ในช่วงแรกนั้นการสเก็ตงานของผมไม่ค่อยเห็นผลเท่าทีควรจะเป็นรูปแบบงานก็ยังคงไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระเท่าไรนัก โดยผมเอารูปทรงของวงกลมมาซ้อนกันทำให้ดูมีมิติ จากนั้นนำมาวางเลียงต่อกันแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นสองข้าง และเมื่อประกบกันวงกลมก็จะเลียงต่อกันเป็นแถวพอดี
ต่อมาก็ได้คำชี้แนะจากอาจารย์ป๋องว่า มันควรจะมีเนื้อความมากกว่านี้ จากงานชิ้นที่2อาจารย์ไปสะดุดกับการที่เอาตัวอักษรสองตัวมาวางไว้หน้าคู่กัน ถามผมว่ามันมีความหมายอะไรหรือป่าว ซึ่งมันไม่มีความหมายอะไร ก็เป็นแค่ตัวอักษรสองตัวที่มาวางคู่กันเท่านั้นกัน อาจารย์แนะนำว่าถ้าทำให้มันมีความหมายน่าจะดีกว่านี้ ผมเลยคิดไปถึงอักษรย่อของประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้วมันมีทั้งหมด3ตัว ผมเลยเอาเฉพาะตัวหน้ากับตัวหลังมังถึงจะได้สองตัวพอดีกับหน้าที่ได้เตรียมไว้ แล้วเปรียบเทียบไปถึงอัตราส่วนของสีธงชาติของแต่ละประเทศว่ามีสัดส่วนเท่าไรในพื้นที่ของธงชาติ และการวางสีตามลักษณะของธงชาติ
และถ้านำตัวอักษรสองตัวมาซ้อนกันจะทำให้การลวยลายที่แปลกตาไป แต่ถ้ามองภาพรวมก็จะเป็นลักษณะคล้ายกับธงชาติต่างๆในทวีปเอเซีย
ผมจึงได้ทำออกมาในรูปแบบของ Book Design
รูปการแสดงโชว์งานครับ
Friday, March 2, 2007
PERCEPTION
การรับรู้ (Perception) คือ ขบวนการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเลือกสิ่งเร้า (selection),การประมวลสิ่งเร้า (organization) และการแปลผลตีความสิ่ง เร้า (interpretation) ดังนั้นทั้ง ผัสสะ และการรับรู้ จึงเกี่ยวโยงกันอยู่ในแง่ของการทำงานที่ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ การรับรู้ยังเป็นขบวนการที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับความจำ (Memory) ในตอนที่แปลผลตีความสิ่งเร้า จะต้องเทียบเคียงกับประสบการณ์เดิมในความจำ
แต่เรื่องที่ผมสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ก็คือเรื่อง Abnormal Perceptions
การรับรู้ที่ผิดปกติ (Abnormal perceptions) อาจแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ
A. Sensory distortions สิ่งเร้าที่มีอยู่จริงถูกรับรู้อย่างผิดแปลกไป (distorted)
B. False perceptions: การรับรู้เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งเร้าอยู่จริง
False Perceptions
คือ การรับรู้โดยไม่มีวัตถุ (สิ่งเร้า) อยู่จริง หรือ เป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ โดยไม่ได้ตอบสนองต่อความเป็นจริงที่มีอยู่ของสิ่งเร้า false perceptions นี้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1) Illusion 2) Hallucination 3) Pseudohallucination
เรื่องที่ผมได้นำมาทดลองคือ Completion illusion มันเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในส่วนของ Illusion
Completion illusion คือ การแปลผลผิดซึ่งเกิดจากความพยามยามที่ต่อเติมข้อมูลของสิ่งเร้าให้สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เราอ่านหนังสือพิมพ์อย่างรวดเร็ว เราอาจจะไม่พบคำที่พิมพ์ผิด เพราะเราได้แปลผลคำที่พิมพ์ผิดให้กลายเป็นคำที่พิมพ์ถูกไปเสียแล้วในสมองของเรา การแปลผลผิดชนิดให้เกิด จากแนวโน้มของมนุษย์ที่พยายามจะแปลผลข้อมูลของสิ่งเร้าให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราคุ้นเคยอยู่ก่อน และผมก็ได้ทำการทดลองจากทีษฎีดังกล่าว ซึ่งในช่วงแรกผมยังจับจุดอะไรไม่ค่อยได้ ผมจึงทดลองไปเลื่อยๆโดยเริ่มใช้รูปทรงเลขาคณิตมาทดลองซึ่งมันก็ยังไม่เห็นผลอะไรเท่าไรนัก
แล้วผมก็หยุดการทดลองพวกนั้นไป และก็เริ่มตั้งคำถามว่า ถ้าเอา Font มาทดลองมันจะเกิดผลอย่างไร และผมก็ได้ทดลองกับ Font หนึ่งชุด โดยเริ่มจากการนำตัวเลขมาทดลองก่อนจากนั้นจึงนำตัวอักษรมาทดลองต่อไป
ซึ่งผลที่ได้ยังไม่ชัดเจนสักเท่าไรนัก โดย Font บางตัวยังอ่านไม่ค่อยออกแต่บางตัวก็อ่านได้ชัดเจน และผมได้หาข้อมูลเพิ่มเติม และไปเจอ Font ชุดหนึ่งที่ใกล้เคียกับกับการทดลองที่ผมได้ทดลองอยู่ผมจึงได้เอามาปรับรูปทรงและขนานใหม่ทั้งหมดโดยนำเสนอออกมาในรูปแบบของ Book Font ชื่อหนังสือว่า "Completion illusion font book"
งานชิ้สุดท้ายของการทดลองนี้ ผมได้นำ Font ชุดที่ผมดัดแปลงขึ้นมาใหม่ มาจัดวางทำให้เกิดภาพลวงตาลงบน Poster ขนาน A2
DAVID CARSON
David Carson is an American graphic designer. He is best known for his innovative magazine design, and use of experimental typography. He was the art director for the magazine Ray Gun. Carson is almost universally acknowledged as the greatest and certainly the most influential graphic designer of the nineties. In particular, his widely-imitated aesthetic defined the so-called "grunge" era.
Biography
He was born in 1956 in Corpus Christi, Texas. Carson and his family moved to New York City four years later. Since then he has traveled all around the world but has maintained New York as his base of operations. Carson now owns two studios; one in New York and another in Charleston, South Carolina.
Because of his father, Carson traveled all over America, Puerto Rico, and the West Indies. These journeys affected him profoundly and the first signs of his talent were shown at a very young age; however, his first actual contact with graphic design was made in 1980 at the University of Arizona on a two week graphics course. Later on in 1983, Carson was working towards a Bachelor of Arts in Sociology when he went to Switzerland, where he attended a three-week workshop in graphic design as part of his degree. This is where he met his first great influence, who also happened to be the teacher of this course, Hans-Rudolph Lutz.
Career
During the period of 1982–1987, Carson worked as a teacher in Torrey Pines High School in San Diego, California. In 1983, Carson started to experiment with graphic design and found himself immersed in the artistic and bohemian culture of Southern California. By the late eighties he had developed his signature style, using "dirty" type and non-mainstream photography. He would later be dubbed the "father of grunge."
Carson went on to become the art director of Transworld Skateboarding magazine. Among other things, he was also a professional surfer and in 1989 Carson was qualified as the 9th best surfer in the world. His career as a surfer helped him to direct a surfing magazine, called Beach Culture. This magazine lasted for three years but, through the pages of Beach Culture, Carson made his first significant impact on the world of graphic design and typography with ideas that were called innovative even by those that were not fond of his work. From 1991-1992, Carson worked for Surfer magazine. A stint at How magazine (a trade magazine aimed at designers) followed, and soon Carson launched Ray Gun, a magazine of international standards which had music and lifestyle as its subject. Ray Gun made Carson very well-known and attracted new admirers to his work. In this period, journals such as the New York Times (May 1994) and Newsweek (1996) featured Carson and increased his publicity greatly. In 1995, Carson founded his own studio, David Carson Design in New York City, and started to attract major clients from all over the United States. During the next three years (1995-1998), Carson was doing work for Pepsi Cola, Ray Ban (orbs project), Nike, Microsoft, Budweiser, Giorgio Armani, NBC, American Airlines and Levi Strauss Jeans.
From 1998 on, DCD started an international career and worked for a variety of new clients, including AT&T, British Airways, Kodak, Lycra, Packard Bell, Sony, Suzuki, Toyota, Warner Bros, CNN, Cuervo Gold, Johnson AIDS Foundation, MTV Global, Princo, Lotus Software, Fox TV, Nissan, quicksilver, Intel, Mercedes Benz, MGM Studios and Nine Inch Nails.
In 2000, Carson opened a new personal studio in Charleston, South Carolina. During this period, Carson became a father, a fact that affected his design and work. In 2004, Carson became the Creative Director of Gibbes Museum of Art in Charleston and designed the special “Exploration” edition of Surfing Magazine and directed a television commercial for UMPQUA Bank in Seattle, Washington.
Carson became interested in a new school of typography and photography-based graphic design, which came from the academic explorations of Edward Fella at Cranbrook Academy and California Institute of the Arts. Carson is largely responsible for popularizing the style, and was an inspiration for a generation of young designers coming of age in the 1990's. His work does not follow "traditional" graphic design standards (as espoused by an older generation of practitioners such as the late Paul Rand). Carson has a part of himself in every piece and he is emotionally attached to his creations. Carson's work is considered an exploration in thoughts and ideas that become "lost" in his (and his target audience's) subconscious. Every piece is saturated with visual information that could easily be considered too heavy for the eye to interpret, but Carson still manages to communicate both the idea and the feeling behind his design. His extensive use of combinations of typographic elements and photography led many designers to completely change their work methods and graphic designers from all around the world base their style on the new “standards” that have distinguished Carson's work. Carson is most famous for his ability to create spreads that even with little content seem to be rich, vivacious and meaty.
One possible criticism is that, when viewing one of his works for the first time, the audience may have the impression that what they see is full of meaning and content. Upon closer inspection, it might become clear that they have been "fooled," as there is great disparity between what is promised and what is actually delivered. Also, in this process, the message can become unclear to those not initiated in his particular visual syntax.
Publications
In November 1995, Carson published his first book the End of Print. It sold over 200,000 copies in five different languages and soon became the best-selling graphic design book worldwide. His second book, 2nd Sight, followed in 1997. It is said that this book simply changed the public face of graphic design (Newsweek). In 1998, Carson worked with Professor John Kao of the Harvard Business School on a documentary entitled "The Art and Discipline of Creativity." The third book that Carson published was Fotografiks (1999) which earned Carson the Award of Best Use of Photography in Graphic Design. Carson’s fourth book, Trek, was released in 2000.
Awards
During the period of 1989 – 2004, David Carson has won over 170 Awards for his work in graphic design. Some of these awards include:
Best Overall Design, Society of Publication Designers in New York.
Cover of the Year, Society of Publication Designers in New York.
Award of Best Use of Photography in Graphic Design
Designer of the Year 1998, International Center of Photography
Designer of the Year 1999, International Center of Photography
Master of Typography, Graphis magazine (NY)
The most famous graphic designer on the planet, April 2004 - London Creative Review magazine (London)
Over-rated designer of the decade award, HOAX magazine (London)
จากการทำงานทั้ง3ชิ้นในเทอมนี้ก็ทั้งเหนื่อยและเคียดมากครับ แต่ก็รู้สึกดีเมื่อส่งไปแล้วไม่ได้เหนื่อยกับเคียดเฉยๆน่ะครับ ก็ได้รู้ถึงระบบการทำงานมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่ไม่ค่อยสนใจในเนื้อหาหรือการหาข้อมูลสักเท่าไร แต่พอมาเทอมนี้ก็ถึงได้รู้ว่าการค้นคว้าหาข้อมูลก็เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเอาแต่ทำงานให้เสร็จหรือให้สวยแค่นั้น สุดท้ายผมอยากจะขอบคุณ อาจารย์ติก กับอาจารย์ป๋อง ที่ให้คำแนะนำดีีๆกับผมและเพื่อนมาตลอดเทอมและไม่เช็คผมขาดเวลาผมมาสาย คุณแม่ ที่เวลาทำงานดึกๆชอบชงโกโก้ร้อนมาให้ผมดื่มและปลุกผมทุกเช้าวันพุธ ขอบคุณครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)