Tuesday, June 26, 2007

บุหรี่

ในห้องเรียนเพื่อนๆได้วิเคราะห์ออกมาหลายแนวทางมีทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนจากความคิดเห็นของผม จุดประสงค์หลักที่ได้นำภาพหรือข้อความนั้น คือต้องการลดปริมาณนักสูบหน้าใหม่ๆลง เพราะทุกวันนี้ผมมองไปทางไหนก็เห็นนักสูบหน้าใหม่ ไม่จะเป็นที่สถานศึกษา แหล่งศูนย์รวมวัยรุ่น(สยาม) ตลอดจนที่สถานที่ทั่วไปฯลฯ มันมีแต่จะเพิ่มขึ้นไปเลื่อยๆการที่นักสูบหน้าเก่าเลิกสูบไปเพราะอาจจะเกิดจากความกลัวที่เกิดในช่วงเวลาแรกๆ ที่เห็นภาพนั้นๆ กับการรับสื่อประเภทอื่นเช่น รายการทีวีบางรายการก็หยิบยกเรื่องบุหรี่กับและโทษภัยของมันออกเผยแพร่ ซึ่งบางรายการนำภาพของผู้ป่วยและอวัยวะของคนที่สูบบุหรี่มาให้ชม ซึ่งผมคิดว่ามันอาจทำให้นักสูบหน้าเก่าสะดุ้งตัวขึ้นมาได้ไม่กก็น้อย ส่วนนักสูบหน้าใหม่หรือคนที่คิดจะสูบก็อาจเกิดอาการหวาดกลัวขึ้นมาบ้างประเด็นที่น่าสนใจ
1.เป็นการโฆษณาที่เข้าถึงโดยตรงกับผู้บริโภค เช่น คนที่สูบจะได้เห็นภาพหรือข้อความประมาณ20ครั้ง ต่อ1คนเพราะแต่ละครั้งที่จะสูบก็ต้องหยิบซองขึ้นมามันต้องผ่านตาไม่มากก็น้อย บุหรี่1ซองจะมี20ม้วนก็เท่ากับจำนวนครั้งที่จะหยิบ
2.น่าจะเป็นการจุดประเด็นต่างๆที่ทางรัฐต้องการให้สิ่งนี้เป็นตัวเปิด เช่น กระตุ้นการรณรงค์หรือมีการพูดถึงบุหรี่มากขึ้น คนที่ไม่สูบบุหรี่เข้าใจและป้องกันตัวเองมากขึ้น เช่น การแบ่งพื้นที่สูบบุหรี่ รวมไปถึงคนที่สูบตระหนึกถึงคนที่ไม่สูบ(เพื่อนของผมได้ผู้เอาไว้)
ในเรื่องของการออกแบบซองบุหรี่ ผมคิดว่าต้องเป็นการออกแบบที่เข้าใจและเข้าถึงง่าย มีผลกระทบต่อจิตใจตั้งแต่แรกเห็นในมุมมองที่เลวร้าย ความเห็นผมในการออกแบบนั้น รูปแบบภาพที่มีอยู่ยังไม่เลวร้ายพอ น่าจะหาภาพที่มันน่าเกียจกว่านี้หรือนำภาพจากทีวีที่ไปถ่ายภาพอวัยวะภายในจากโรงพยาบาลมาใช้ ข้อความควรจะลำดับความสำคัญให้ชัดเจนและเลือกใช้สีที่มันสะดุดตาไปเลย เช่นสีสะท้อนแสง หรือสีพิเศษ ส่วนเรื่องของบรรจุภันณ์ก็น่ากระดาษคุณภาพถูกมาห่อหุ้มทำให้ดูเหมือนของราคาถูกแต่ซื้อในราคาที่แพงซึ่งผมว่าอาจจะทำให้ผู้บริโภคฉุดคิดบ้างว่าเสียเงินซื้อในราคาที่แพง แต่กับได้ของที่ดูแล้วไม่ค่อยมีคุณภาพเท่ากับเงินที่เสียไป หลังเลิกเรียนได้ยืนคุยกับอาจารย์และเพื่อนๆ ผมก็ได้แง่คิดเรื่องภาษีของรัฐบาลและอัตราของราคาบุหรี่ที่ทางรัฐเป็นตัวกำหนดอย่างชัดเจน

Tuesday, June 19, 2007

UNDERSTANDING

จากสิ่งรอบตัวเรามีการใช้ข้อมูลทั้งตัวรูปภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ในการจำนวนนับเพื่อใช้ในการสื่อสารและเข้าใจถึงข้อมูลนั้นๆได้โดยง่ายด้วยแหล่งข้อมูลที่มีจำนวนมากนี้เราจึงต้องหาอุปกรณ์ขึ้นมาใช้รวบรวมข้อมูลนั้นได้โดยง่าย เพื่อสื่อสารได้ง่ายขึ้น ผมจึงเล็งเห็นวิวัฒนาการของอุปกรณ์ในการนับจำนวนเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านข้อมูลได้โดยง่ายซึ่งการคิดริเริ่มของลูกคิดนั้นเกิดมาจาก มนุษย์เผ่าที่เร่ร่อนในยุคแรกนับและบันทึกจำนวนสัตว์ในฝูงได้แม้ไม่มีระบบจำนวนเป็นลายลักษณ์อักษรในการนับ โดยเขาใช้วิธีเก็บก้อนกรวดหรือเมล็ดพืชไว้ในถุง หรือถ้าจำนวนมีค่ามากก็จะใช้นิ้วต่างๆ
เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวน 10 และ 20 พวกเขาได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับจำนวนว่าเป็น
สัญลักษณ์ซึ่งแตกต่างจากสิ่งของที่นับ เมื่อการเก็บข้อมูลและการนับมีความซับซ้อนมากมายหลายแบบ มันคือคความคิดเริ่มต้นที่ทำให้คนคิดค้น และในภายหลังได้มีคนคิดค้นระบบและอุปกรณ์ในกาจำนวนนับต่างๆเกิดขึ้น โดยมนุษย์ได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยในการทำงานนั่นก็คือ ลูกคิด ของชาวจีนร้อยประกอบด้วยลูกปัดอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ประกอบด้วยโครงไม้แบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนบนและส่วนล่าง แกนไม้ในแนวตั้งใช้แทนหลักของจำนนวและลูกปัดแทนจำนวน แต่ก็ยังมีข้อเสียในเรื่องของการคูณกับการหารอยู่ซึ่งมีการประมวณผลยังช้าอยู่
ซึ่งต่อก็มีคนคิดค้นตารางการคูณ โดยการจารึกตารางการคูณบนชุดของแท่งหลายๆ แท่งและ ต่อๆมาก็มีคนคิดค้นเครื่องนับจำนวนในอีกหลายรูปแบบทั้งในเรื่องของรูปทรง ขนานและการคำนวณแต่มันก็ยังมีขนาดใหญ่มาก ในยุคต่อมามีพนักงานเก็บภาษี ได้ทดลองใช้เครื่องบวกเลขแบบเครื่องกลเพื่อช่วยงานบิดา โดยการประสานตัวเฟืองซึ่งสามารถคำนวณเลขจำนวนมากได้ แม้ว่าเครื่องแพสคาลไลน์นี้จะเป็นเครื่องบวกเลขเครื่องแรก แต่แท้จริงแล้วเครื่องคิดเลขเครื่องแรกนั้นสร้างขี้นในปี ค.ศ.1623 โดยศาสตราจารย์ชาวเยอรมันชื่อ วิลเฮล์ม ชิลคาร์ด แล้วหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้มีการพัฒนาเครื่องคิดเลขทั้งในรูปทรงและขนาดให้มีความเล็กกระทัดรัดมากขึ้นและในส่วนของเรื่องการประมวณผลก็เช่นกัน สามารถประมวณผลได้รวดเร็วมากขึ้น จนมาถึงปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ก่อนมากจึงทำให้เกิดเครื่องคิดเลขที่สมบูรณ์ขึ้นแต่ยังไงก็ตามข้อดีข้อเสียก็มีตามมาเช่นกันเพราะ
เรื่องนี้ได้มีผู้พิสูจน์แล้วว่า ในกรณีที่เป็นการบวกและการลบเลขจำนวนมากๆ นอกจากนี้ ลูกคิดจะดีดได้เร็วกว่าเครื่องคิดเลขเพราะ อย่างน้อยเครื่องคิดเลขต้องเสียเวลากับการกดเครื่องหมาย บวก ลบตลอดเวลา ทำให้ความเร็วช้ากว่าลูกคิดอีกทั้งโอกาสที่จะกดพลาดก็มีมากกว่า และว่าโดย
ความเป็นจริงแล้ว ชีวิตประจำวันของคนเรา วนเวียนอยู่กับการบวกเลขและลบเลขมากถึงร้อยละ 80 คิดได้อย่างนี้แล้วลูกคิดจึงควรจะมีที่ทางของมันที่จะอยู่ต่อไปจีนในฐานะเป็นเจ้าของประดิษฐกรรมเก่าแก่ ก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง มีข่าวว่า จีนได้คิดค้นเครื่องคิดเลขแบบใหม่ เรียกว่า "กระดานลูกคิดดิจิตอล" คือท่อนบนใช้ระบบไมโครชิพส่วนท่อนล่างเป็นรางลูกคิดก็คือเอาข้อดีของทั้งสองอย่างมาผสมกันถ้าจะคูณหารเลขก็ใช้เครื่องคิดเลขดิจิตอลถ้าจะบวกลบเลขก็ใช้ลูกคิดแทนนับว่าเป็นการผสมผสาน
อารยธรรมโบราณของจีนเข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะเจาะและผมคิดว่าวิวัฒนาการแต่ของลูกคิดจนมาเป็นเครื่องคิดเลขในปัจจุบัน แต่ท้ายสุดเครื่องนับจำนวนในแต่ละรูปแบบมันก็ยังมีข้อจำกัดของเรื่องใช้งานนั้นอยู่


ความคิดเห็นของผมอุปกรณ์เครื่องนับจำนวนทั้งสองอย่างนี้มันมีความสัมพันธ์กันระหว่างพฤติกรรมมนุษย์กับเครื่องนับจำนวนและในส่วนของความสัมพันธ์นี้มันจะแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่คือ1.ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับอุปกรณ์2.การจดจำ วิวัฒนาการของเครื่องนับจำนวนนั้น แต่ก็ยังมีเรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงในส่วนของลูกคิด
เกิดความไม่เข้าใจอย่างสากล ขาดหน่วยในการบันทึก ขาดหลักการคูณหาร ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการคำนวนและยังอาจนำมาสู่ความผิดพลาดได้ รวมไปถึงเรื่องเศษฐกิจในช่วงเวลานั้นซึ่งอาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงและการเพิ่มจำนวนทวีคูณของสิ่งของ