ในห้องเรียนเพื่อนๆได้วิเคราะห์ออกมาหลายแนวทางมีทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนจากความคิดเห็นของผม จุดประสงค์หลักที่ได้นำภาพหรือข้อความนั้น คือต้องการลดปริมาณนักสูบหน้าใหม่ๆลง เพราะทุกวันนี้ผมมองไปทางไหนก็เห็นนักสูบหน้าใหม่ ไม่จะเป็นที่สถานศึกษา แหล่งศูนย์รวมวัยรุ่น(สยาม) ตลอดจนที่สถานที่ทั่วไปฯลฯ มันมีแต่จะเพิ่มขึ้นไปเลื่อยๆการที่นักสูบหน้าเก่าเลิกสูบไปเพราะอาจจะเกิดจากความกลัวที่เกิดในช่วงเวลาแรกๆ ที่เห็นภาพนั้นๆ กับการรับสื่อประเภทอื่นเช่น รายการทีวีบางรายการก็หยิบยกเรื่องบุหรี่กับและโทษภัยของมันออกเผยแพร่ ซึ่งบางรายการนำภาพของผู้ป่วยและอวัยวะของคนที่สูบบุหรี่มาให้ชม ซึ่งผมคิดว่ามันอาจทำให้นักสูบหน้าเก่าสะดุ้งตัวขึ้นมาได้ไม่กก็น้อย ส่วนนักสูบหน้าใหม่หรือคนที่คิดจะสูบก็อาจเกิดอาการหวาดกลัวขึ้นมาบ้างประเด็นที่น่าสนใจ
1.เป็นการโฆษณาที่เข้าถึงโดยตรงกับผู้บริโภค เช่น คนที่สูบจะได้เห็นภาพหรือข้อความประมาณ20ครั้ง ต่อ1คนเพราะแต่ละครั้งที่จะสูบก็ต้องหยิบซองขึ้นมามันต้องผ่านตาไม่มากก็น้อย บุหรี่1ซองจะมี20ม้วนก็เท่ากับจำนวนครั้งที่จะหยิบ
2.น่าจะเป็นการจุดประเด็นต่างๆที่ทางรัฐต้องการให้สิ่งนี้เป็นตัวเปิด เช่น กระตุ้นการรณรงค์หรือมีการพูดถึงบุหรี่มากขึ้น คนที่ไม่สูบบุหรี่เข้าใจและป้องกันตัวเองมากขึ้น เช่น การแบ่งพื้นที่สูบบุหรี่ รวมไปถึงคนที่สูบตระหนึกถึงคนที่ไม่สูบ(เพื่อนของผมได้ผู้เอาไว้)
ในเรื่องของการออกแบบซองบุหรี่ ผมคิดว่าต้องเป็นการออกแบบที่เข้าใจและเข้าถึงง่าย มีผลกระทบต่อจิตใจตั้งแต่แรกเห็นในมุมมองที่เลวร้าย ความเห็นผมในการออกแบบนั้น รูปแบบภาพที่มีอยู่ยังไม่เลวร้ายพอ น่าจะหาภาพที่มันน่าเกียจกว่านี้หรือนำภาพจากทีวีที่ไปถ่ายภาพอวัยวะภายในจากโรงพยาบาลมาใช้ ข้อความควรจะลำดับความสำคัญให้ชัดเจนและเลือกใช้สีที่มันสะดุดตาไปเลย เช่นสีสะท้อนแสง หรือสีพิเศษ ส่วนเรื่องของบรรจุภันณ์ก็น่ากระดาษคุณภาพถูกมาห่อหุ้มทำให้ดูเหมือนของราคาถูกแต่ซื้อในราคาที่แพงซึ่งผมว่าอาจจะทำให้ผู้บริโภคฉุดคิดบ้างว่าเสียเงินซื้อในราคาที่แพง แต่กับได้ของที่ดูแล้วไม่ค่อยมีคุณภาพเท่ากับเงินที่เสียไป หลังเลิกเรียนได้ยืนคุยกับอาจารย์และเพื่อนๆ ผมก็ได้แง่คิดเรื่องภาษีของรัฐบาลและอัตราของราคาบุหรี่ที่ทางรัฐเป็นตัวกำหนดอย่างชัดเจน
Tuesday, June 26, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment