งานนี้เป็นงาน Final Project ที่ให้นักศึกษาเสนอหัวข้องานเองตามที่ตนเองสนใจ
ซึ่งในตอนแรกผมก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี คิดไปคิดมาก็ยังคิดไม่ออก อาจารย์ติกก็เลยเสนอเรื่องเก่าให้ทำต่อไป เพราะอาจารย์ท่านบอกว่าจากการที่ได้เห็นงานจากชิ้นที่แล้วมา อาจารย์ติกก็นึกไปถึง (Gestalt Psychology) ท่านก็เลยให้ไปหาข้อมูลมา
กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์นิยม
กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วม” คำว่า “Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด (totality หรือ configuration) กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม เกิดในอเมริกา กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปัญญานิยม”(cognitivism) ผู้นำกลุ่มที่สำคัญ คือ เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880 – 1943) และโคเลอร์ (Wolfgang Kohler, 1886 – 1941)
กลุ่มเกสตัลท์นิยมเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมบูรณาการ (integrated behavior) การศึกษาพฤติกรรมต้อง ศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ เพราะส่วนรวมก็คือส่วนรวม มีคุณค่าหรือคุณสมบัติต่างไปจาก ผลบวกของส่วนย่อย ๆ รวมกัน เช่น “บ้าน” ย่อมมีคุณค่า มีความหมาย มีคุณสมบัติที่มากกว่าการเอาเสา เอากระดานพื้น กระดาน ตามประตูหน้าต่าง หลังค่า ฯลฯ มาต่อรวมเข้าด้วยกัน หรือตัวอย่างไนรูปพฤติกรรม เช่น การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในรูปใด มักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนร่วมของคน ๆ นั้น โดยประสมประสานระหว่างความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ หรือความสามารถในการกระทำ ฯลฯ ไม่ได้เกิดเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวและถึงแม้สิ่งเร้าของคนนั้น จะเป็นสิ่ง เดียวกัน แต่พฤตกรรมจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ และความสามารถ เปลี่ยนไปจากเดิม
กลุ่มเกสตัลท์เน้นศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ รวมทั้งการเรียนรู้จากปัญญาความคิด เห็นว่าการรับรู้เป็นพื้นฐานนำให้เกิด การเรียนรู้ และคนเรามีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน ส่งผลให้เรียนรู้และกระทำแตกต่างกัน การจะรับรู้ให้เข้าใจได้ดีจะต้อง รับรู้โดยส่วนรวมเสียก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งนั้นทีละส่วนในภายหลัง และการเรียนรู้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งความสามารถในการแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น (insight) การหยั่งเห็นเป็นการคิดช่องทาง แก้ปัญหา ได้ฉับพลันจากการพิจารณาสภาวะรอบด้าน ถ้าเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดก็จะแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น เมื่อแก้ปัญหาได้ก็เกิดการเรียนรูู้้แล้ว ซึ่งจะเป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นกับการใช้ความคิด ความเข้าใจ หรือสติปัญญาของผู้นั้น แนวคิดของกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “ปัญญานิยม” เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมต้องศึกษาจากกระบวนการรับรู้และการคิดในสมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม
และผมได้ค้นคว้าต่อจนไปเจอกับ (Perceptual organization) ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับงานของผม
การจัดองค์ประกอบการรับรู้ (Perceptual organization)
การจัดองค์ประกอบการรับรู้ หมายถึง การที่ผู้บริโภคจัดข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มีความหมายที่เข้าใจได้มากขึ้น และเพื่อให้สามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองได้ถูกต้อง ( Assael.1998:225)
หลักพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบการรับรู้ คือ “การรวมกลุ่ม” (integration) ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภครับรู้สิ่งเร้าในลักษณะเป็นภาพรวม (an organized whole) ไม่ได้มองสิ่งเร้าแต่ละส่วนที่แยกกัน การมองเป็นภาพรวมจะช่วยให้การประมวลข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความหมายได้ง่ายเข้า ซึ่งสอดคล้องตามหลัก จิตวิทยาของเกสตัลท์ (Gestale psychology) ที่กล่าวไว้
ว่า ‘ส่วนรวมมีความสำคัญมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน” (The whole is greater than the sum of the parts)
คำว่า “Gestalt” เป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึง องค์ประกอบที่รวมกันทั้งหมด หรือรูปแบบรวม (Total configuration or whole pattern) ทฤษฎีของเกสตัลท์ ที่เกี่ยวกับการรวมกลุ่มเพื่อการรับรู้ที่สำคัญ ได้แก่ หลักการเติมส่วนที่ขาดให้สมบูรณ์ หลักการจัดกลุ่ม และหลักองค์ประกอบรอบข้าง
2.1 หลักการเติมส่วนขาดให้สมบูรณ์ (Principle of closure) หมายถึง ผู้บริโภคมีแนวโน้มรับรู้ภาพที่ไม่สมบูรณ์ ให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ เช่น การเติมคำในช่องว่างโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์มาก่อน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงอธิบายได้ว่าทำไม่เราจึงสามารถอ่านข่าวสารต่าง ๆ ที่ไม่สมบูรณ์เข้าใจได้ทั้ง ๆ ที่ขาดตัวอักษรหลายคำ นักการตลาดสามารถนำหลักข้อนี้ไปประยุกต์ให้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจข่าวสารมากยิ่งขึ้น
ในช่วงแรกนั้นการสเก็ตงานของผมไม่ค่อยเห็นผลเท่าทีควรจะเป็นรูปแบบงานก็ยังคงไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระเท่าไรนัก โดยผมเอารูปทรงของวงกลมมาซ้อนกันทำให้ดูมีมิติ จากนั้นนำมาวางเลียงต่อกันแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นสองข้าง และเมื่อประกบกันวงกลมก็จะเลียงต่อกันเป็นแถวพอดี
ต่อมาก็ได้คำชี้แนะจากอาจารย์ป๋องว่า มันควรจะมีเนื้อความมากกว่านี้ จากงานชิ้นที่2อาจารย์ไปสะดุดกับการที่เอาตัวอักษรสองตัวมาวางไว้หน้าคู่กัน ถามผมว่ามันมีความหมายอะไรหรือป่าว ซึ่งมันไม่มีความหมายอะไร ก็เป็นแค่ตัวอักษรสองตัวที่มาวางคู่กันเท่านั้นกัน อาจารย์แนะนำว่าถ้าทำให้มันมีความหมายน่าจะดีกว่านี้ ผมเลยคิดไปถึงอักษรย่อของประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้วมันมีทั้งหมด3ตัว ผมเลยเอาเฉพาะตัวหน้ากับตัวหลังมังถึงจะได้สองตัวพอดีกับหน้าที่ได้เตรียมไว้ แล้วเปรียบเทียบไปถึงอัตราส่วนของสีธงชาติของแต่ละประเทศว่ามีสัดส่วนเท่าไรในพื้นที่ของธงชาติ และการวางสีตามลักษณะของธงชาติ
และถ้านำตัวอักษรสองตัวมาซ้อนกันจะทำให้การลวยลายที่แปลกตาไป แต่ถ้ามองภาพรวมก็จะเป็นลักษณะคล้ายกับธงชาติต่างๆในทวีปเอเซีย
ผมจึงได้ทำออกมาในรูปแบบของ Book Design
รูปการแสดงโชว์งานครับ
Friday, March 2, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment